เกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา

การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์

          วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษารับตีพิมพ์ผลงานวิชาการในรูปแบบบทความวิจัย บทความ วิชาการและบทวิจารณ์หนังสือภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ สาขาวิชาภาษาและวรรณคดี วัฒนธรรมและวัฒนธรรมศึกษา การแปล สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ประวัติศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา  บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์    บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ

บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ พิมพ์บนกระดาษ ขนาด A 4 ด้วยตัวอักษร Angsana New ขนาด 16 pt. ความยาวไม่เกิน 15 หน้า (รวมบรรณานุกรม) การตั้งหน้า กระดาษ ระยะขอบ บน-ล่าง ซ้าย-ขวา 1 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร และมีรายละเอียด ดังนี้

      1. ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

      2. ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) หน่วยงานที่สังกัด อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์

      3. บทคัดย่อ (abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 250 คำ

      4. คำสำคัญ (keyword) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

      5. เนื้อหาของบทความ

              5.1 บทความวิจัย ความยาวไม่เกิน 15 หน้า ประกอบด้วย บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง

              5.2 บทความวิชาการ ความยาวไม่เกิน 15 หน้า ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา บทสรุป และ เอกสารอ้างอิง

              5.3 บทวิจารณ์ ความยาวของบทความ 3-5 หน้า พร้อมเอกสารอ้างอิง

              5.4 งานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็น ลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์

      6. การอ้างอิงใช้รูปแบบของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA)

            6.1 การอ้างอิงแทรกในเนื้อเรื่อง ให้ใช้การอ้างอิงแบบนาม-ปี (name-year system) โดย ระบุชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ และเลขหน้าของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างท้ายข้อความที่ต้องการอ้างอิงแหล่ง ที่มาของข้อความนั้น เช่น

                 (รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, 2555, หน้า 15)

                 (รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล และสุจิตต์ วงษ์เทศ, 2558, หน้า 10-12)

                 (Nord, 1991, p. 13)

                 (Nord & Vermeer, 2002, pp. 7-9)

             6.2 เอกสารอ้างอิง (Reference) เป็นการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนใช้อ้างอิง ในเนื้อหา นำมาจัดเรียงตามลำดับตัวอักษรชื่อผู้แต่ง และเรียงภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ

ไกเกอร์, อาร์โน. (2551). อำลาเบอร์ลิน: Abchied von Berlin. ใน รวมเรื่องสั้นภาษา เยอรมัน (อัญชลี โตพึ่งพงศ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วงกลม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สัญชัย สุวังบุตร. (2552). โอลิมปิก ค.ศ. 1936: กีฬาแห่งสวัสดิกะ. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 34(1), 89.

Chomsky, N. (1988). Language and problems of knowledge: The Managua lectures. Cambridge, MA: MIT Press.

       

การส่งต้นฉบับ

ส่งต้นฉบับพิมพ์ 3 ชุด พร้อม CD ได้ที่บัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร 02-369-2667

  บทบาทและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

(Duties and responsibilities of Editors)

  1. การประสานงานผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ และกองบรรณาธิการด้วยความซื่อสัตย์และเสมอ โดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อให้ได้บทความที่มีคุณค่าและ
       สอดคล้องกับนโยบายการจัดทำวารสาร
  2. การตีพิมพ์บทความที่มีความถูกต้อง สอดคล้องกับนโยบายของวารสาร และไม่รับพิจารณาบทความตีพิมพ์มาก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม จะไม่ปฏิเสธตีพิมพ์บทความ
        เพียงเพราะว่ามีข้อสงสัย แต่จะต้องมีหลักฐานมาพิสูจน์เสียก่อน
  3. การกำหนดขั้นตอนและแนวปฏิบัติในการส่งบทบทความ และการให้คำแนะผู้เขียนในการเตรียมต้นฉบับ การอ้างอิงที่ถูกต้อง การไม่นำผลงานมาตีพิมพ์ซ้ำ
        และการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
  4. การปฏิบัติต่อผู้เขียนอย่างดีโดยให้ความเสมอภาค การเอาใจใส่ การปกป้องความลับของผลงาน  การสื่อสารด้วยความรวดเร็วเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าของต้นฉบับ
        โดยไม่มีเหตุผลสมควร
  5. การกำหนดขั้นตอนและแนวปฏิบัติสำหรับผู้ประเมินบทความ เพื่อให้การทำงานมีความถูกต้องและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามจะต้องให้ผู้ประเมินบทความทำงาน
       ได้อย่างเต็มที่โดยที่ผู้ประเมินจะไม่ทราบผู้เขียนบทความ
  6. การปกป้องความเป็นส่วนตัว โดยที่ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง  ในระหว่างกระบวนการประเมินคุณภาพบทความ
  7. การตรวจสอบการคัดลอกหรือการละเมิดผลงานของผู้อื่นอย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มั่นใจว่าวารสารจะไม่ได้ตีพิมพ์
       บทความที่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
  8. การหยุดกระบวนการประเมินบทความ เมื่อพบว่าผู้เขียนได้คัดลอกหรือละเมิดผลงานของผู้อื่น และประสานงานกับผู้นิพนธ์หลักเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อใช้ประกอบการ
       “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ

 บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ประเมิน

(Duties and Responsibilities of Reviewers)

  1. การประเมินบทความโดยคำนึงถึงคุณค่าทางวิชาการเป็นสำคัญ และส่งคืนบทความในเวลาที่กำหนดเพื่อประโยชน์ของผู้เขียนบทความ
  2. การเสนอแนะเพื่อการแก้ไขและปรับปรุงบทความจะต้องกระชับและเจน โดยเน้นความถูกต้อง ของเนื้อหาที่สอดคล้องกับนโยบายของวารสาร
        และการสร้างผลงานใหม่
  3. การประเมินด้วยความเที่ยงตรง โดยหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนคติ อคติ และความรู้สึกส่วนตัวในการวิจารณ์บทความ การประเมินต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง
        ทางวิชาการ ทฤษฎี และแนวคิด  ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย
  4. การรักษาความลับและความเป็นส่วนตัวของผู้เขียนตลอดระยะเวลาในการประเมินบทความ   โดยไม่เปิดเผยและอภิปรายเรื่องราวของบทความกับผู้อื่น
  5. ผู้ประเมินจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันทีถ้าหากไม่สามารถประเมินไม่เสร็จในเวลาที่ กำหนด หรือไม่สามารถประเมินบทความได้
  6. ผู้ประเมินจะต้องศึกษานโยบายวารสารเพื่อให้การประเมินบทความสอดคล้องกับ หลักเกณฑ์การตีพิมพ์บทความ เนื้อหาที่นำเสนอ และมาตรฐานการประเมิน
        บทความของวารสาร
  7. การประเมินเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพของบทความ โดยการเสนอแนะให้มี การแก้ไข ข้อมูลให้ถูกต้อง การเพิ่มเติมเนื้อหา และการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย
  8. การให้ความสำคัญกับปัญหาการคัดลอกหรือการละเมิดผลงานของผู้อื่น การอ้างอิงเมื่อนำผลงาน มาเป็นฐานความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ถ้าหากพบว่าผู้เขียนมี
        การละเมิดผลงาน หรือการนำผลงานเก่ามาพิมพ์ซ้ำจะต้องแจ้งบรรณาธิการวารสารให้ทราบทันที
March 2024
Mo Tu We Th Fr Sa Su
26 27 28 29 1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31